ทำไมต้องโค้ช?

แบ่งปัน

มักมีคนถามว่า ในเมื่อหัวหน้าทีมก็ทำหน้าที่สอน ให้ฟีดแบค ติดตามงานอยู่แล้ว ทำไมต้องโค้ช ? การโค้ชมีประโยชน์ยังไง ? คำถามนี้น่าสนใจทีเดียว

ก่อนอื่นขอทบทวนความหมายของการสอนงาน การเมนเทอร์ (Mentor) และการโค้ช กันสักหน่อย การสอนงานและการเมนเทอร์เป็นรูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการ ทักษะ ประสบการณ์ คำแนะนำจากผู้สอนไปสู่ผู้เรียนและ/หรือน้องเลี้ยง (Mentee) ลักษณะเปรียบเหมือนการ download ข้อมูลจากผู้สอนสู่ผู้เรียน โดยกระบวนการสอนและการให้คำแนะนำก็ใช้การบอกเล่าเป็นหลัก มีการใช้คำถามบ้างเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเป็นระยะ ส่วนการโค้ช (Coaching) แตกต่างจากการสอน การแนะนำ แม้ว่าศัพท์คำว่า Coaching เคยมีการแปลความหมายว่าการสอนงาน แต่ในที่นี้ การสอนงาน น่าจะตรงกับคำว่า Teaching หรือ Training มากกว่า
ความหมายของการโค้ช (Coaching) คือการทำงานร่วมกัน (Partnering) ระหว่างผู้โค้ช (Coach) และผู้รับการโค้ช (Coachee) เพื่อให้ผู้รับการโค้ชตระหนักรู้เข้าใจตน (Awareness) เข้าใจและยอมรับบริบทของสถานการณ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น (Accept) ตัดสินใจเลือก (Decision Making) และลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Take Action) อย่างเต็มศักยภาพ ผลที่จะเกิดกับผู้รับการโค้ชคือสภาวะเชิงบวก ความกระตือรืนร้นในการทำงาน นำไปสู่การแสวงหาวิธีจัดการปัญหาความท้าทาย และการพัฒนาตน

  1. การโค้ชส่งเสริมการบริหารผลงาน
    การติดตามงาน การให้ฟีดแบค การกำหนดเป้าหมาย การวางแผนกลยุทธ์ร่วมกัน จะเห็นได้ว่าการโค้ชสอดแทรกอยู่ในระบบการทำงานร่วมกัน รวมไปถึงระบบการตั้งเป้าและวัดผล OKRs (Objective Key Results) ที่เปิดให้สมาชิกในทีมเสนอและเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมได้เอง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของทีม ในระบบ OKRs หัวหน้าต้องสวมบทบาท CFR Manager ที่จะต้อง Communicate (สื่อสาร 2 ทางได้), Feedback (ให้ฟีดแบคสม่ำเสมอ) และ Recognition (ชื่นชมเป็น) หัวหน้าที่มีทักษะการโค้ชจะสามารถทำหน้าที่ CFR Manager ได้อย่างราบรื่นเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  2. การโค้ชส่งเสริมการทำงานร่วมกัน
    ความแตกต่างของการโค้ชกับการสอนและการแนะนำ คือจุดที่เป็น “การทำงานร่วมกัน” แลกเปลี่ยนความคิด ร่วมเสนอทางออก หัวหน้าจะใช้วิธีบอกและสั่งการฝ่ายเดียวไม่ได้อีกต่อไป แต่ต้องมีศิลปะในการกระตุ้นให้ลูกบอกเล่า พูดคุย แชร์ความคิดเห็น มุมมอง ข้อมูล เรื่องนี้ทักษะการโค้ชจึงต้องมา
  3. การโค้ชเป็นกระบวนการสื่อสาร 2 ทางอย่างมีศิลปะ
    ประกอบด้วยทักษะ (1) การฟังเชิงลึก (Active Listening) (2) การถามเพื่อสร้างความเข้าใจชัดเจนและกระตุ้นไอเดีย (Asking question that create clarity and evoke ideas) (3) กระตุ้นการลงมือปฏิบัติ (Action & Accountability) ภายใต้ (4) บรรยากาศความไว้วางใจ (Accommodate Trust & Connecting) ทักษะเหล่านี้นำไปสู่ความเป็น Communication Mastery
  4. การโค้ชช่วยสืบค้นปัญหาที่แท้จริง
    ความรู้และประสบการณ์ของหัวหน้าถือเป็นทรัพยากรมีค่า (Asset) ของทีมและองค์กร ในขณะเดียวกัน ประสบการณ์ก็เป็นหลุมพรางสร้างนักคาดเดาที่ รู้ล่วงหน้า สรุปล่วงหน้าโดยให้ความสำคัญกับการฟังน้อย ละเลยที่จะสอบถามด้วยความสงสัยใคร่รู้ เพราะคาดเดาว่ารู้แล้วและไม่มีเวลาฟัง ไม่มีเวลาถาม ไม่มีเวลาอธิบาย ประเด็นคือ ปัญหาที่เข้าใจนั้นอาจไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง ดังนั้นการกำหนด Solution ก็อาจผิดทาง การถามแบบปักธงตามที่คาดการณ์ไว้ก็ไม่ช่วยกระตุ้นความร่วมมือ (Buy in) การไม่อธิบายเพราะเหตุผลใด ๆ ก็สร้างความเข้าใจผิด กระบวนการโค้ชให้ความสำคัญกับการฟังและการถาม
  5. การโค้ชส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี
    วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการฟังเชิงลึก คือ การฟังเพื่อเข้าใจสถานการณ์ เข้าใจคู่สนทนา เข้าใจเหตุผล แม้จะมีความคิดแตกต่างแต่การแสดงความเข้าใจกันก็สามารถสร้างความความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
  6. การโค้ชจุดประกายไอเดีย
    คำถามเพื่อการโค้ช (Coaching Question) ทำหน้าที่คลี่คลายความชัดเจน และจุดประกายไอเดียทางแก้ปัญหาซึ่งส่งเสริมให้งานราบรื่นได้ผลงานตามคาดหมาย

หลักสูตร บ่มเพาะผู้นำสายโค้ช (Grow Coaching Leader) เข้าใจถึงความสำคัญข้างต้น จึงออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ทักษะการโค้ชขับเคลื่อน ความก้าวหน้าของงานและความสำเร็จของบุคคล เพื่อประโยชน์องค์รวม

เกี่ยวกับผู้เขียน

ดร.ผาณิต ถิรวงศ์ชัยพันธุ์

ดร.ผาณิต ให้ความสนใจทักษะการโค้ชอย่างจริงจัง และมีความเชี่ยวชาญจนก้าวสู่การเป็นโค้ชมืออาชีพมาตรฐานสากลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ (International Coaching Federation (ICF)) ระดับ Professional Certified Coach (PCC)

คุณอาจจะชอบบทความเหล่านี้