Powerful Question คืออะไร?
“คำถามเปลี่ยนชีวิต” ข้อความคุ้นหูที่เป็นความจริง คำถามที่ดีช่วยกระตุ้นการคิด สืบค้นเรื่องราว ขยายมุมมอง เกิดไอเดียแตกต่าง ผลงานทางวิทยาศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์ innovation ต่าง ๆ ก็มีจุดเริ่มต้นจากคำถาม
โค้ชจะตั้งคำถาม Powerful Question ได้ยังไง?
Powerful Question หรือ คำถามจุดพลังความคิด เป็นอีกสิ่งที่นักถามรวมถึง Coach ให้ความสำคัญในการฝึกทักษะ Asking Powerful Question เพื่อสนับสนุนให้ผู้รับการโค้ช หรือผู้ถูกถามค้นพบและเข้าใจสภาวะ เชิงลึกด้วยปัญญาแห่งตน เกิดปฏิกิริยาที่มีความหมายสำหรับตัวเขาเอง เช่น ฉุกคิด, ตื่น (wake up), พบคำตอบ ที่เรียกว่า Aha Moment
เรามักพบหนังสือกลุ่ม Powerful Questions, Question Hunts มากมายบน shelf หนังสือ ตัวอย่างคำถามในหนังสือเหล่านั้นน่าสนใจ เป็นไอเดียให้เลือกใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ แม้การจดจำตัวอย่างคำถามที่ดีจะมีประโยชน์ แต่คำถามที่ดีก็คือคำถาม ยังบอกไม่ได้ว่าจะ Powerful หรือไม่ เพราะ Powerful Question ไม่ได้ขึ้นอยู่ ที่ตัวคำถาม แต่สำคัญว่าคำถามนั้น มาจากความสงสัยใคร่รู้จริง และใช้ได้ถูกจังหวะ ถูกสถานการณ์ ถูกเรื่อง ถูกเวลา (at the right time) หรือไม่? ทักษะที่ช่วยได้คือ การฟังอย่างใส่ใจ มีสมาธิอยู่กับปัจจุบัน คือเวลาปัจจุบัน เรื่องปัจจุบัน และคู่สนทนาตรงหน้า เพื่อรับรู้เรื่องราวทั้งที่เป็นคำพูดและไม่ใช่คำพูด เมื่อฟังแล้วเกิดความสงสัยใคร่รู้จึงถาม ณ เวลาหรือสถานการณ์นั้น
“แม้ว่าโค้ชจะเตรียม Powerful Question ล่วงหน้าก่อนการโค้ชไม่ได้ แต่ก็ต้องรู้วิธีสร้าง Coaching Question เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นความคิดของผู้รับการโค้ชให้ประมวลและเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายนอกและภายในตน ที่เรียกว่า Connect the dot นำสู่กระบวนการคิดวิเคราะห์ ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง คิดริเริ่ม คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา ฯลฯ”
ในที่นี้ขอแนะนำลักษณะ Coaching Question บางรูปแบบที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการโค้ช
- คำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ให้คำตอบที่เปิดกว้างในหลายแง่มุม โดยไม่ถูกชี้นำ คำถามปลายเปิด มักขึ้นต้นด้วย who, what, when, where, why, how
- คำถาม Chunking เป็นอีกชุดคำถามที่ช่วยขยายความคิดรอบด้าน ทั้งแนวบน (chunk up) แนวล่าง (chunk down) แนวข้าง (chunk aside) กล่าวคือ
- Chunk up question เป็นคำถามขยายถึงความคิดเกี่ยวกับประเด็นนั้น ๆ สู่ภาพที่ใหญ่กว่า (big picture) การเชื่อมโยงการกระทำไปสู่วิสัยทัศน์ หรือเหตุผลและแรงจูงใจ ตัวอย่างคำถามเช่น อะไรคือความปรารถนาของคุณ ? อะไรสำคัญสำหรับคุณ ? เรื่องนี้มีความหมายกับคุณอย่างไร ? ความสำเร็จในเรื่องนี้จะให้อะไรกับคุณ ? คุณเรียนรู้อะไร?
- Chunk down question เป็นคำถามที่ขยายความคิดเกี่ยวกับประเด็นนั้น ๆ ลงสู่รายละเอียด (detail) เช่น คุณหมายถึงอะไร ? มีองค์ประกอบอะไร ? อะไรคืออุปสรรค ? อะไรคือปัญหา ?
- Chunk aside question เป็นคำถามที่ขยายความคิดเกี่ยวกับประเด็นนั้น ๆ สู่วิธีการ, ทางเลือก, โอกาส เช่น ถ้าไม่ทำสิ่งนี้คุณจะทำอะไร ? ถ้าเสียสิ่งนี้ไปคุณจะได้อะไรมาแทน ? คนอื่นเขาทำอะไรกัน ? คุณมีไอเดียอะไรบ้าง ?
เพื่อให้เห็นภาพเกี่ยวกับความแตกต่างของ chunking แต่ละแนวระดับ ขอยกตัวอย่างการพูดคุยเกี่ยวกับ “ดินสอ” - Chunk up question เรื่องดินสอ เช่น ต้นไม้, ป่าไม้, ระบบนิเวศน์ ฯลฯ
- Chunk down question เรื่องดินสอ เช่น ดินสอประกอบด้วยอะไร ? แต่ละส่วนประกอบมาจากไหน ? ประเภทดินสอ? ขั้นตอนการผลิตดินสอ ? ฯลฯ
- Chunk aside question เรื่องดินสอ เช่น อะไรที่ใช้ทดแทนดินสอ ? อะไรที่ใช้ทดแทนการเขียน ? จะจัดหาดินสอได้ด้วยวิธีใด ฯลฯ
- Chunk up question เป็นคำถามขยายถึงความคิดเกี่ยวกับประเด็นนั้น ๆ สู่ภาพที่ใหญ่กว่า (big picture) การเชื่อมโยงการกระทำไปสู่วิสัยทัศน์ หรือเหตุผลและแรงจูงใจ ตัวอย่างคำถามเช่น อะไรคือความปรารถนาของคุณ ? อะไรสำคัญสำหรับคุณ ? เรื่องนี้มีความหมายกับคุณอย่างไร ? ความสำเร็จในเรื่องนี้จะให้อะไรกับคุณ ? คุณเรียนรู้อะไร?
- คำถามที่มีโครงสร้าง ชุดคำถามที่มีโครงสร้างจะช่วยตั้งคำถามที่ครอบคลุมได้หลายมิติ โครงสร้างคำถามที่นิยม เช่น GROW, STAR+L, ORID ฯลฯ ผู้เขียนจะเล่าถึงโครงสร้างชุดคำถามดังกล่าวในโอกาสต่อไป
เมื่อรู้จักคำถามที่ควรใช้แล้ว เราควรรู้จักคำถามที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะหยุดยั้งการทำงานของความคิด ได้แก่
- คำถามปลายปิด ซึ่งมักลงท้ายด้วย จริงหรือไม่? ใช่หรือไม่ ถูกหรือไม่ คำถามปลายปิดใช้เพื่อยืนยันความเข้าใจ แต่ไม่ช่วยกระตุ้นหรือต่อยอดความคิด
- คำถามชี้นำ เช่น การเป็นลูกน้องที่ดี คุณควรให้ความร่วมมือกับหัวหน้าแค่ไหน? จะเห็นได้ว่าประโยคนี้แทรกการชี้นำไว้ที่ “คุณควรให้ความร่วมมือกับหัวหน้า….” คำถามที่ลดการชี้นำ เช่น “การเป็นลูกน้องที่ดีควรเป็นอย่างไร? “ลูกน้องที่ดีควรทำอะไร” เป็นต้น
- คำถามที่ใช้ศัพท์เฉพาะ (jargon) หากคู่สนทนาไม่คุ้นเคยกับศัพท์เฉพาะที่ Coach เลือกใช้ การสื่อสารก็จะสะดุด ติดขัด และรบกวนความคิดของผู้รับการโค้ช ดังนั้นควรลดศัพท์ประเภทนั้น หากจำเป็นต้องใช้ ควรอธิบายสั้น ๆ ให้คู่สนทนาเข้าใจก่อน
สุดท้ายนี้ ก็หวังว่า ผู้อ่านคงได้แนวทางการตั้งคำถามที่มีพลังไปใช้ในการกระตุ้นคู่สนทนา หรือผู้ได้รับการโค้ชไปใช้ในการสื่อสาร ทั้งลักษณะคำถามที่ควรใช้และคำถามที่ควรหลีกเลี่ยง